ในรอบหลายปีที่ผ่านมา จังหวัดเชียงราย เเละจังหวัดพะเยา ประสบปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในแต่ละครั้งได้สร้างความสูญเสีียต่อชีวิต เเละทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก จากการวิเคราะห์สถานการณ์เกิดภัยพิบัติของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้บ่งชี้เเนวทางเดียวกันว่าในอนาคตภัยพิบัติต่างๆ จะเพิ่มความรุนเเรง และมีโอกาสเกิดมากขึ้น ภัยต่างๆเเยกได้เป็น ๒ ประเภท
๑. สาธารณภัย ได้เเก่ ภัยจากธรรมชาติ เเละภัยจากการกระทำของมนุษย์ ได้เเก่ อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย เเผ่นดินไหว ภัยเเล้ง ภัยหนาว ไฟป่า ภัยจากสารเคมีเเละวัตถุอันตราย ภัยจากการคมนาคมเเละการขนส่ง
๒. ภัยด้านความมั่นคง ได้เเก่ การก่อวินาศกรรม ภัยจากระเบิด ภัยทางอากาศ การชุมนุมประท้วงเเละการก่อจราจล
เเบ่งการปฏิบัติเป็น ๓ ขั้นตอน
๑. ขั้นเตรียมการ (ก่อนเกิดภัย)
- ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งรายงานให้หน่วยเหนือทราบตามห้วงเวลา
- ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเเลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันเเละกัน
- เตรียมกำลังพล ยานพาหนะ เครื่องมือ เเละสิ่งอุปกรณ์ ให้พร้อมปฏิบัติได้ทันที เมื่อได้รับการร้องขอ หรือเมื่อสั่ง
- จัดให้มีการฝึกซ้อม หรือฝึกซ้อมร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๒. การปฏิบัติเมื่อเกิดภัย
- ประสานงานกับหน่วยที่เกี่ยวข้องโดยใกล้ชิด จัดเจ้าหน้าที่ประสานงาน ณ ที่เกิดภัย
- ปฏิบัติตามเเผนที่หน่วยได้วางไว้ ได้เเก่ การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ประเภทต่างๆ , การเเจ้งเตือนภัย ,การเฝ้าติดตามสถานการณ์ ,การอพยพประชาชนไปยังที่ปลอดภัย ,การขนส่งเครื่องอุปโภคบริโภคไปเเจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัย ,การให้การรักษาพยาบาลเเละเเจกจ่ายยารักษาโรค
๓. ขั้้นตอนการฟื้นฟูบูรณะ (หลังเกิดภัย)
- ประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เเละให้การสนับสนุนการดำเนินการฟื้นฟูบูรณะสภาพความเสียหายให้กลับคืนสภาพปกติโดยเร็ว เมื่อได้รับการร้องขอ เเละฟื้นฟูยานพาหนะ เครื่องมือเครื่องใช้ของหน่วยให้สามารถปฏิบัติภารกิจอื่นได้ต่อไป

การช่วยเหลือ/ใช้เครื่อง AED
ฝึกอบรมบรรเทาสาธารณภัย




- ตรวจความพร้อม ศบภ.นพค.๓๕